เมนู

บทว่า ปฏภาเฌยฺยกา มีความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยไหวพริบใน
ศิลปะของตน.
บทว่า ทกฺขา เป็นผู้ฉลาดหรือเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺปา ได้แก่ ผู้มีศิลปะหาโทษมิได้.
บทว่า นาฬิยาวาปเกน ได้แก่ ทะนานและถึง. มีคำอธิบายว่า
ชนทั้งหลายย่อมกรอก คือ ย่อมใส่ข้าวสารที่ได้แล้ว ๆ ในภาชนะใด ภาชนะ
นั้น ชื่อ อาวาปกะ แปลว่า ถุง.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นหาปิตปุพฺเพน ขุรภณฺฑํ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม ไม่ควรเก็บรักษามีดโกนไว้เลย แต่จะปลง
ผมด้วยมีดโกนเป็นของผู้อื่น ควรอยู่. ถ้าจะถือเอาค่าจ้างปลงไม่ควร. ภิกษุใด
ไม่เคยเป็นช่างโกนผม แม้ภิกษุนั้นจะรักษามีดโกนไว้ ย่อมควร; ถึงแม้จะถือ
เอามีดโกนเล่มนั้นหรือเล่มอื่นปลงผม ก็ควร.
สองบทว่า ภาคํ ทตฺวา มีความว่า พึงให้ส่วนที่ 10. ได้ยินว่า
การให้ส่วนที่ 10 นี้ เป็นธรรมเนียมเก่า ในชมพูทวีป เพราะเหตุ นั้น พึง
แบ่งเป็น 10 ส่วนแล้ว ให้แก่พวกเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่ง.

มหาปเทส 4


เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) 4 ข้อเหล่านั้น ว่า ยํ ภิกฺขเว
มยา อิทํ น กปฺปติ
เป็นต้น.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหา-
ปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.
ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ 7 ชนิด
เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล 9 อย่าง คือ ผลตาล ผล

มะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับ
สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.
น้ำปานะ 8 อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมี หวาย
มะชาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น มีคติอย่างอฏัฐบาน
แท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง. ถึงกระนั้น ย่อม
เข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ; เพราะฉะนั้น จึงควร.
ในกุรุนทีแก้ว่า จริงอยู่ เว้นรสแห่งเมล็ดข้าวกับทั้งสิ่งที่อนุโลมเสีย
แล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำผลไม้อื่น ที่ไม่ควร ย่อมไม่มี น้ำผลไม้ทุกชนิดเป็นยาม
กาลิกแท้.
จีวรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ 6 ชนิด. จีวรอื่นอีก 6 ชนิดที่
อนุโลมจีวรเหล่านั้น คือ ผ้าทุกุละ ผ้าแคว้นปัตตุนนะ ผ้าเมืองจีน ผ้าเมือง
แขก ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์ ผ้าเทวดาให้ พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายอนุญาต
แล้ว.
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าปัตตุนนะนั้น ได้แก่ ผ้าที่เกิดด้วยไหมใน
ปัตตุนประเทศ. ผ้า 2 ชนิด เรียกตามชื่อของประเทศนั่นเอง. ผ้า 3 ชนิด
นั้น อนุโลมผ้าไหม ผ้าทุกุละ อนุโลมผ้าป่าน นอกจากนี้ 2 ชนิด อนุโลม
ผ้าฝ้ายหรือผ้าทุกอย่าง.
บาตรพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม 11 อย่าง อนุญาต 2 อย่าง คือ
บาตรเหล็ก บาตรดิน. ภาชนะ 3 อย่าง คือ ภาชนะเหล็ก ภาชนะดิน ภาชนะ
ทองแดง อนุโลมแก่บาตรนั้นแล.

กระติกน้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ 3 อย่าง คือ กระติก
โลหะ กระติกไม้ กระติกผลไม้. ภาชนะน้ำ 3 อย่าง คือ คนโทน้ำ ขันทอง
ห้าว หม้อตักน้ำ อนุโลมกระติกน้ำ 3 อย่างนั้นแล. แต่ในกุรุนทีแก้ว่า สังข์
สำหรับใส่น้ำฉัน และขันน้ำ อนุโลมแก่กระติกเหล่านั้น.
ประคดเอวทรงอนุญาตไว้ 2 ชนิด คือ ประคดทอเป็นแผ่น ประคด
ไส้สุกร ประคดเอวที่ทำด้วยผืนผ้า และด้วยเชือกอนุโลมประคด 2 ชนิดนั้น
ร่มทรงอนุญาตไว้ 3 ชนิด คือ ร่มขาว ร่มรำแพน ร่มใบไม้, ร่ม
ใบไม้ใบเดียว อนุโลมตามร่ม 3 ชนิดนั้นเอง; แม้ของอื่น ๆ ที่เข้ากับสิ่งที่
ควรและไม่ควร ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาดูบาลีและอรรถกถาแล้วทราบตามนัยนี้
เถิด.

ว่าด้วยกาลิกระคนกัน


คำว่า ตทหุปฏิคฺคหิตํ ถาเล กปฺปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอารสที่เจือกันทุกอย่าง. ก็ถ้าน้ำปานะเป็นของที่รับประเคนปนกับ
มะพร้าวทั้งผล ยังไม่ได้ปอกเปลือก เอามะพร้าวออกเสียแล้ว น้ำปานะนั้น
ควรแม้ในเวลาวิกาล.
พวกทายกถวายข้าวปายาสเย็น วางก้อนสัปปิไว้ข้างบน เนยใสใครไม่
ปนกับข้าวปายาส จะเอาเนยใสนั้นออกไว้ฉัน 7 วันก็ควร.
แม้ในสัตตาหกาลิกที่เหลือ มีน้ำผึ้งและน้ำตาลที่เป็นแท่งเป็นต้น ก็นัย
นี้แล.
พวกทายกถวายบิณฑบาต ประดับด้วยกระวานและลูกจันทน์เป็นต้น
บ้าง กระวานและลูกาจันทน์เป็นต้นนั้น พึงยกออกล้างไว้ฉันได้ตลอดชีวิต ใน
ขิงที่เขาใส่ในยาคูถวายเป็นต้นก็ดี. ในชะเอมที่เขาใส่แม้ในน้ำเป็นอาทิ แล้ว
ถวายเป็นต้น ก็ดี มีนัยเหมือนกันแล.